วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การจัดค่ายภาษาอังกฤษ ต่อจากบทความที่แล้วนะครับ

          การจัดการเรียนนการสอนภายในห้องเรียนคงอาจจะไม่เพียงพอต่อประสบการณ์ของนักเรียนของเรานะครับดังนั้นเพื่อให้เป็นการสร้างบรรยากาศใหม่พร้อมกับประสบการณ์ตรงกับชาวต่างชาติเราคงจะต้องเตรียมกิจกรรมให้กับเด็ก ๆ ของเราแล้วล่ะครับ เพราะจะให้นักเรียนของเราไปหาประสบการณ์ต่างประเทศก็คงยาก (ยากs, ขอเติม s นะครับลองออกเสียงดูนะครับ) ดังนั้นการจัดค่ายภาษาอังกฤษ (English Language Camp) จึงถือได้ว่าเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริงและในขณะเดียวกันก็เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นนอกห้องเรียนโดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในบรรยากาศที่สนุกสนาน เช่น การใช้เกม เพลง หรือ บทบาทสมมติ ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้สามารถจูงใจให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาโดยไม่รู้ตัว

         เรามาเริ่มกันเลยนะครับ ก่อนที่เราจะเริ่มการจัดค่ายนั้นสิ่งแรกเลยเราต้อง มีการตั้งวัตถุประสงค์กันก่อนนะครับ เพราะการกำหนดทิศทางและเป้ามหายในการจัดค่ายนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น จุดประสงค์ในการจัดค่ายอาจจะเป็นแบบนี้ก็ได้นะครับ (เผื่อว่าหลายท่านอาจจะตั้งวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากนี้ก็ได้นะครับ)
        วัตถุประสงค์ของการจัดค่าย
1. ได้รับประสบการณ์ตรงจากการสื่อสารกับเจ้าของภาษา มีการเรียนรู้จากการสังเกต สำรวจข้อมูล เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้จากสภาพจริง
2. ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่ท้าทาย สนุก น่าสนใจ แปลกใหม่ และตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ภาษา
3.  ส่งเสริมให้ได้พัฒนากระบวนการคิด ได้แก่ การคิดแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความสามารถในการตัดสินใจ
4.  ส่งเสริมให้พัฒนากระบวนการสืบเสาะความรู้ และกระบวนการทางภาษา ด้วยการทำกิจกรรมหลากหลาย อิสระ โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการและแนวความคิดหลักการทางการเรียนภาษา
5. ส่งเสริมให้พัฒนาทักษะการสื่อสาร มีปฎิสัมพันธ์ที่ดี และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข                                                                                        

6.  ส่งเสริมความเป็นผู้นำ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติต่อสังคม
เมื่อเรากำหนดวัตถุประสงค์แล้วนะครับ ขั้นตอนต่อไปเรามาเตรียมการจัดค่ายกันดีกว่านะครับ
สำหรับการเตรียมค่ายนะครับเราคงต้องมองให้ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดทิศทางกระบวนการและรายละเอียด ที่จำเป็นในการจัดค่ายนะครับ การเตรียมค่ายจะส่งผลให้เด็กเกิดความตื่นตัว เกิดความรู้สึกที่ดี ต้องการเข้าร่วม และช่วยให้เด็กเกิดคุณลักษณะตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ รวมทั้งมีส่วนในการป้องกัน ลดความเสี่ยง และรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการเตรียมค่ายสามารถ สรุปสั้นๆเป็นกลอนอย่างนี้ก็ได้นะ คิดให้ครบ กำหนดสาระ จัดหาวิธีการ ประสานงานให้ชัดเจน และเน้นกุศโลบายที่เหมาะสม
ในการเตรียมค่ายมีกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการหลายเรื่อง ผู้จัดการค่ายจะต้องจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง แล้วกำหนดปฏิทินการทำงานเพื่อกำหนดเวลาที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรม โดยวางแผนงานนี้อาจจะกระจายงาน หรือแบ่งงานให้ทีมงานตามความสามารถและความถนัดของบุคลากรหรือทีมงานที่จะช่วยเรานะครับ
        จากนั้นเราคงจะต้องมาวางแผนให้ต่อเนื่องกันเลยนะครับต่อไปคงจะต้องพูดถึงเรื่องของการพัฒนาหลักสูตรครับแต่หลายคนอาจจะเรียกว่าคู่มือประกอบการจัดค่ายก็ได้นะครับ แต่ก่อนอื่นเรามาดูขั้นตอนกันก่อนดีกว่านะครับว่าเราควรจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างครับ
          สิ่งแรกเลยเราคงต้องเริ่มจากการ"กำหนดเป้าหมายของการจัดค่าย"นะครับเราอาจจะต้องวิเคราะห์ว่า สิ่งที่เราจัดให้กับเด็กของเราว่าเกิดประโยชน์และเป็นไปได้จริงมั้ย เป็นแนวคิดใหม่ๆ ที่เด็กสนใจหรือเปล่าและที่สำคัญสอดคล้องเชื่อมโยงกับสถานการณ์และแนวโน้มสังคมระดับประเทศ ระดับโลกหรือไม่
                     ผู้จัดค่ายควรเลือกแนวคิดสำคัญที่จะใช้เป็นแกนการพัฒนาหลักสูตรค่าย เพื่อกำหนด Theme และทิศทางของค่ายนะครับ แนวคิดดังกล่าวจะนำไปสู่การกำหนดผลการเรียนรู้ กรอบเนื้อหาหลัก  กระบวนการเรียนรู้ และรายละเอียดกิจกรรมที่เหมาะสมกับเนื้อหานะครับ 
         

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ(ต่อ)

ต่อเนื่องจากบทความที่ผ่านมานะครับที่ทางผู้เขียนได้กล่าวถึงปัญหาพื้นฐานทั่วไปในการเรียนภาษาอังกฤษและการมีจิตวิญญาณของความเป็นครูนะครับ
      สำหรับการจัดการเรียนการสอนแล้วนะครับหากเรามองในอีกภาพนึงนะครับ ผมขอเปรียบภาพนี้เหมือนกับอาหารสักจานครับ เพราะหากเราปรุงอาหารให้มีรสชาติที่อร่อยถูกอกถูกใจลูกล้าหรือสมาชิกในบ้านแล้วล่ะก็แน่นอนครับลูกค้าย่อมมาที่ร้านบ่อย ๆ เป็นแน่เพราะติดใจในรสชาติของอาหารจานนั้น เช่นเดียวกันครับการที่เราจะสอนให้เกิดประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนคงต้องใช้เครื่องปรุงหลายอย่าง หรืออาจจะต้องพึ่งพาสูตรลับกันเลยทีเดียวนะครับ เช่น เราอาจจะใช้เกม 1 ช้อนโต๊ะ เพลง 2 ช้อนโต้ะ เนื้อหา 3 ถ้วยตวง กิจกรรมกลุ่ม 2 กรัม และการทดสอบสัก 1 ช้อนโต๊ะ ครับ......ว้าวน่าอร่อยจังนะครับ เพราะหากผู้สอนสามารถที่จะคิดและออกแบบกิจกรรมได้เป็นอย่างดีในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละครั้งให้ดีนั้น ผลลัพธ์ก็จะเท่ากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้นะครับ
      การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนั้นแน่นอนครับเราต้องมองย้อนกลับไปเมื่อสมัย 20 กว่าปีที่แล้วครับที่มีหนังสือเรียนภาษาอังกฤษที่มีชื่อว่า English is Fun ที่เราหลาย ๆคนเคยเรียนมาในสมัยอยู่ชั้นประถมศึกษากัน ในปัจขจุบันนี้ก็เช่นกันครับ การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษก็คงต้องเน้นให้มีความสนุกสนานไปพร้อม ๆ กัน เพราะผู้เรียนของเรานั้นผมเชื่อว่ามีความแตกต่างกันไม่น้อยเลยทีเดียวครับและถ้าหากเราใช้กิจกรรมในการจัดการเรียนการสอนก็จะทำให้นักเรียนหรือผู้เรียนนั้นรู้สึกผ่อนคลายและอยากเรียนภาษาอังกฤษกับผู้สอนเป็นแน่ ถ้าเราสังเกตนะครับ ผู้เรียนจะชอบครูภาษาอังกฤษที่ใจดีและมีกิจกรรมที่สนุกสนาน แต่ในความเป็นจริงแล้วครูภาษาอังกฤษใจดีอาจจะหายากนิดนึง(รึเปล่า) นะครับ แต่ในความเป็นจริงเราก็เข้าใจอาชีพเดียวกันนะครับเพราะว่าครูไม่ได้มีหน้าที่สอนอย่างเดียวนะครับ มีอีกหลายอย่างที่เราต้องทำ ยิ่งถ้าเป็นครูในระดับประถมศึกษาเราก็ต้องเห็นใจนะครับเพราะทำงานมากมายก่ายกอง คืออาจจะพูดได้ว่าทำได้ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบกันเลยทีเดียว
      ดังนั้นนะครับการที่เราจะหากิจกรรมที่เหมาะกับผู้เรียนหรือให้เกิดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรียนรู้ด้สยตนเองและเกิดการจดจำแบบคงทนยาวนาน การจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษก็อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่เราจำเป็นต้องให้เด็กที่น่ารักของเราได้รับประสบการณ์ที่ไม่เคยมีในห้องเรียน
       หลายคนอาจจะบอกว่าการจัดค่ายภาษาอังกฤษไม่เห็นจะได้ผลดีเท่าที่ควร และเป็นการจัดแบบสูญปล่าว งบประมาณค่อนข้างมากต้องละลายไปกับกิจกรรมนี้ แต่ผมมองอีกมุมหนึ่งว่า แน่นอนครับการจัดค่ายภาษาอังกฤษแค่ 2 วันนักเรียนคงไม่ได้เก่งหรือฉลาดขึ้นมาได้อย่างมากมายได้เป็นแน่ แต่สิ่งที่ผมเห็นก็คือเราทำเพื่อให้นักเรียนมีเจคติที่ดีหรือมีความคิดด้านบวกกับภาษาอังกฤษหรือกระตุ้นให้เขารู้สึกชอบในตัวภาษาอังกฤษนั่นเอง เราอาจจะต้องคิดว่า ไม่ง่ายนะที่เราจะเห็นเด็กของเรายิ้มหัวเราะ สนุกสนาน ในการเรียนภาษาอังกฤษ หากเราทำให้เขาชอบหรือมีความคิดด้านบวกกับภาษาอังกฤษแล้วล่ะก็ ผมคิดว่านั่นเป็นหมายสำคัญแก่เราชาวครูนะครับที่จะต้อง ติดตามผลและกระตุ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากการจัดค่าย หากเราสามารถจัดกิจกรรมย่อยหลังจากจัดค่ายแล้วนั้นเด็กของเราน่าจะได้อะไรอีกมากมายนะครับเพราะนักเรียนของเรากำลังมีไฟหรืออุ่นไอของบรรยากาศจากค่ายภาษาอังกฤษแล้วนั้น เราจัดสรรเนื้อหาอะไรให้ขเาคงรับได้ง่ายกว่าปกตินะครับ ดังนั้นเองนะครับเราต้องช่วยกันเติมไฟให้เขานะครับ อย่ารอให้ไฟที่เราช่วยกันจุดมาจากค่ายตั้ง 2-3 วันต้องดับมอดลงไปนะครับ แต่หลายที่ ๆ จัดอาจจะไม่ได้ดำเนินการติดตามผลต่อเนื่อง เลยทำให้ไฟในนักเรียนของเรานั้นดับมอดไปและรอที่จะรับการจุดอีกครั้งก็ต่อเมื่อปีการศึกษาหน้า
          จากที่ผู้เขียนได้กล่าวมาในเบื้องต้นนั้นนะครับเราชาวครูทั้งหลายอาจจะต้องจัดกิจกรรมที่เหมาะสมให้กับลูก ๆ ของเราที่โรงเรียนและอาจจะต้องเน้นคำว่า English is Fun กันแล้วล่ะครับเพราะเราคงต้องช่วยกันพัฒนาพื้นฐานของประเทศของเราด้วยการพัฒนาการศึกษาของเด็กของเราให้เข้มแข็ง เพื่ออย่างน้อยให้เขาสามารถที่จะใช้ความรู้ความสามารถของเขาไปใช้ประกอบอาชีพที่สุจริต ซื่อสัตย์ เป็นคนดีและเป็นประโยชน์ต่อสังคมในภายภาคหน้าเหมือนอย่างที่เราชาวครูอยากให้เขาเป็น และช่วยกันเตรียมลูก ๆ ของเราในโรงเรียนให้เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ Asean community โดยเริ่มจากตัวของเขาก่อนนะครับ และเราชาวครูต้องร่วมด้วยช่วยกันครับ
  สำหรับรายละเอียดสำหรับการจัดค่ายในส่วนอื่น ๆ นะครับ เดี๋ยวเรามาต่อกันในฉบับต่อไปนะครับ

ควมสำคัญของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

หลายคนคงคิดว่าการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในบ้านเรานั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากใช่มั้ยล่ะครับ แน่นอนครับหากเรามององค์ประกอบหลายๆอย่างที่อยู่รอบตัวเราหรือในบริบทอย่างประเทศของเรา 

1. ประเทศเราไม่ได้เป็นเมืองขึ้น (อันนี้ฟังจากนักศึกษาหลาย ๆ คนนะครับ)
2. สิ่งแวดล้อมไม่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน (ประมาณว่าไม่มีโอกาสได้ใช้เลย เรียนแล้วก็ถูกแช่อิ่มจ้า)
 3. ครูผู้สอนขาดเทคนิดการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
4. ครูผู้สอนจบไม่ตรงวุฒิ (เลยทำให้ขาดทักษะด้านวิชาการและเทคนิคการสอน)
                                                                   5. นักเรียนขาดแรงจูงใจในการเรียน (ขาด Sense of Purpose อย่างแรง)
           สิ่งที่กล่าวมานั้นนะครับอาจจะเป็นปัญหาที่เราหลายคนก็อาจจะคิดได้เหมือนกันเพราะดูเหมือนว่าเป็นปัญหาพื้นฐานเท่านั้นนะครับแต่ถ้าหากเรามองให้ลึกลงไปแล้วอาจจะเป็นปัญหาที่ใหญ่มากเลยทีเดียว เพราะการพัฒนาประเทศให้มีความรุดหน้านั้น การศึกษาถือว่าเป็นฐานรากหลัก เหมือนกันครับ เวลาสร้างบ้านเราคงต้องสร้างฐานรากที่มั่นคงและเข้มแข็ง ถ้าไม่อย่างนั้นหากเราต่อเติมหรือก่อสร้างสิ่งอื่นเพิ่มไปอีก แน่นอนละครับบ้านนั้นอาจจะพังทะลายไม่มีชิ้นดี ผมขอเปรียบผู้เรียนเหมือนกับการสร้างบ้านนะครับเพราะอาจจะทำให้เข้าใจมากขึ้นน่ะครับ แท้จริงแล้วหากบ้านนั้นจะเข้มแข็งคงทนและสามารถใช้การได้ คงต้องพึ่งองค์ประกอบหลายอย่าง ครับ ผู้เรียนก็เช่นกันการที่เขาเหล่านั้นจะเติบโตและสมบูรณ์แข็งแรงคงต้องการองค์ประกอบที่ดีและสมสัดส่วนประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมที่ดี ดังนั้น เราผู้สอนคงต้องกลับมาร่วมกันสร้างบ้าน(ผู้เรียน)ให้มั่นคงแข็งแรงและสามารถใช้การได้ร่วมกันนะครับ โดยมาเริ่มที่ตัวของเราเอง เราคงต้องมาปรับเปลี่ยนเทคนิคหรือกระบวนการสอนของเราให้เป็นที่น่าสนและดึงดูดความสนใจของผู้เรียน เช่น เราอาจจะเริ่มศึกษาหาความรู้จากหนังสือ ตำรา หรืองานวิจัยเพื่อยกระดับการสอนของเรา และที่สำคัญไม่ควรลืม การมีจิตวิญาณของความเป็นครูนะครับเพราะนี่จะเป็นสิ่งที่ช่วยกำหนดทิศทางการทำงานของเราให้มีประสิทธิภาพและทรงคุณค่าของความเป็นครู

***** เดี๋ยวเรามาแชร์กันใหม่นะครับ**********ตอนนี้ขอพอไว้เพียงเท่านี้ก่อนครับ***