วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กลับมาอีกครั้งแล้วนะครับสำหรับผู้เขียน คราวนี้นำตัวอย่างเพลงที่ใช้ประกอบในการจัดค่ายภาษาอังกฤษมาด้วยนะครับ

1. เพลง Hello Hello Hello

Hello, Hello, Hello

Hello, how do you do?
I’m glad to be with you

And you ,and you, and you

* Da, da, da, da, da, da, da, da, da, da,da,da, (2 times)
          เพลงนี้ผู้สอนหรือวิยากรสามารถประยุกต์ใช้ได้กับกิจกรรมที่หลากหลายอย่างเช่น ใช้ในการทักทาย (Greeting) เป็นกิจกรรมที่ใช้ละลายพฤติกรรม (Ice-breaking) โดยเพลงนี้ผู้สอนหรือวิทยากรอาจคิดท่าทางประกอบได้ตามใจชอบเพื่อให้เกิดความสนุกสนานในการดำเนินกิจกรรมและต้องคำนึงเสมอว่าการเข้าค่ายแบบนี้ต้องสนุกสนานประกอบกิจกรรมที่เคลื่อนไหวตลอด

 2. เพลง Happiness

          Happiness is in my heart.
Happiness is in your heart.
Happiness’s in my heart,  is in your heart.
Happiness is in my heart.
Happiness is in your heart.
Happiness’s in my heart, is in your heart.
Lun lun lun la, Lun lun lun la, Lun lun lun la
          เพลงนี้เป็นบทเพลงที่ผู้เขียนได้นำมาจากเพื่อนที่ประเทศสก็อตแลนด์ เนื้อหาก็ไม่ค่อนมีอะไรมากแต่สามารถที่จะใช้ประกอบกิจกรรมให้กับนักเรียนในการเข้าค่ายได้เป็นอย่างดีโดยผู้สอนอาจจะต้องคิดออกแบบท่าทางประกอบกับบทเพลงได้ ผู้สอนหรือวิทยากรอาจจะให้นักเรียนยืนขึ้นเป็นสองแถวและหันหน้าเข้าหากันจากนั้นก็เต้นและทำท่าประกอบและเปลี่ยนคู่ไปจนครบทุกคน

3. เพลง  If you’re happy
If you’re happy and you know it clap your Hands ( 2 times)
If you’re happy and you know it, and you really want to show
If you’re happy and you know it clap your Hands
(*stamp your feet/nod your head/ click your finger/shout “Holley!”/ do all five)   
          เพลงนี้ใช้สอนเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกฟังคำสั่ง เช่น clap your hands ซึ่งแปลว่าปรบมือ หรืออาจใช้เป็นบทเพลงเพื่อเรียกความสนใจให้กับนักเรียนได้ในขณะที่นักเรียนส่งเสียงดัง เข่น If you’re happy and you know it clap your hands วิทยากรร้องซ้ำ ๆ แค่ท่อนเดียวก็ได้จนกว่านักเรียนจะเงียบและพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมอื่ต่อไป

4. เพลง Gathering Money
เหมือนเพลง รวมเงินของไทย มีเนื้อร้องว่า
รวมเงิน
รวมเงิน รวมเงิน วันนี้
รวมให้ดี อย่าให้มีผิดพลาด
ผู้หญิงนั้นเป็นเหรียญบาท(ซ้ำ)
ผู้ชายเก่งกาจ ห้าสิบสตางค์
ผู้สอนอาจจะดำเนินกิจกรรมดังนี้
1. นำเข้าสู่บทเรียนโดยถามว่าในแต่ละประเทศใช้เงินสกุลอะไร เช่น ดอลลาร์ ของสหรัฐ
          2. สอนร้องเพลง Gathering Money มีเนื้อร้องดังนี้
We are gathering today
To come and play with soul and heart
The girls value one doll (Repeat)
The boys are smart fifty satangs.
          3. นักเรียนเรียนคำศัพท์จากเพลงและฝึกร้อง
          4. นักเรียนทำวงกลมวงใหญ่ ซ้ายหัน(Turn left) เดินหรือรำ
และร้องเพลง Gathering Money เมื่อเดินไปประมาณ 1 รอบ ครูเป่านกหวีด สั่ง I need  four bahts fifty satangs (สี่บาทห้าสิบสตางค์)
          5. นักเรียนรีบหากลุ่มเข้าเมื่อรวมจำนวนคนแล้วต้องได้สี่บาทห้าสิบสตางค์ เมื่อได้ครบจำนวนคนก็นั่งลงเป็นกลุ่มอาจถามเพื่อนว่า What is your name? Where do you come from? เพื่อนักเรียนจะได้รู้จักกัน
          6. นักเรียนที่หากลุ่มเข้าไม่ได้เป็นผู้ออกคำสั่งแทนครู (หมายเหตุ คำว่า four bahts fitty satangs สามารถเปลี่ยนได้ตามใจผู้นำกิจกรรม)

5. เพลง Eyes Ears Nose
Eyes, ears, nose,
Let’s touch your nose, ears, eyes.
Let’s touch your nose.
Let’s touch your eyes.
Eyes, ears, nose,
Nose, ears, eyes. (2 times)
6. เพลง Head and shoulder

Head , shoulders, knees and toes, knees and toes.

Head , shoulders, knees and toes, knees and toes.

Two eyes, two ears, one nose and one mouth.


สองบทเพลงนี้ผู้สอนสามารถใช้ในการสอนอวัยวะของร่างกาย (Parts of body) ได้เพราะเมื่อผู้สอนสอนนักเรียนแล้วผู้สอนก็แทบจะไม่ต้องสอนให้เด็กต้องจำคำศัพท์ผ่านการสอนเลย

7. เพลง Hello Good morning

Hello Good morning, hello Good morning

How are you? How are you?
I’m fine, Thank you I’m fine, Thank you.
See you again. See you again.



Hello Good afternoon
     Hello Good evening
What’s your name?/ Where’re  you from?
What’s your name?/  Where’re  you from?

เพลงนี้ผู้เขียนได้แต่งขึ้นเองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในกิจกรรมการแนะนำตัวเองเป็นภาษาอังกฤษผ่านบทเพลง และผลลัพธ์นั้นได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อเพราะว่าเมื่อร้องเพลงนี้จบแล้วนักเรียนสามารถที่จะแนะนำข้อมูลส่วนตัวได้เลย โดยมีขั้นตอนในการสอนดังนี้
1.       ผู้สอนสอนนักเรียนร้องเพลงก่อนตามเนื้อเพลง
2.       โดยให้นักเรียนทำเป็นวงกลมใหญ่สองวงคือวงนอกและวงใน เมื่อนักเรียนร้องเสร็จแล้วนักเรียนวงในก็หมุนไปร้องเพลงกับนักเรียนที่อยู่วงนอก
3.       เมื่อนักเรียนร้องและเข่าใจการทำท่าประกอบแล้วผู้สอนก็ให้นักเรียนเพิ่มเนื้อหาเพลงเข้าไปอีกเช่น จาก Hello Good morning ก็เปลี่ยนเป็น Hello Good afternoon และจาก How are you? ก็เปลี่ยนเป็น What’s your name?/ Where’re  you from? และตอบว่า My name is ……………./ I’m from……… จากนั้นก็ร้องตามเนื้อเพลงเหมือนรอบแรก หรืออาจจะเปลี่ยนจากคำว่า See you again. เป็น Nice to see you. ก็ได้
4.       จากนั้นให้นักเรียนลองทบทวนเนื้อร้องแต่ไม่ต้องร้องเป็นเพลงก็ได้และให้นักเรียนจับคู่และลองสนทนาดู เช่น
นักเรียนคนที่ 1: Hello, good morning. How are you?
นักเรียนคนที่ 2: I’m fine. Thank you.
นักเรียนคนที่ 1: What’s your name?
นักเรียนคนที่ 2: My name is……….
นักเรียนคนที่ 1: Where’re you from?
นักเรียนคนที่ 2: I’m from ……………
นักเรียนคนที่ 1: Nice to see you. See you again.
นักเรียนคนที่ 2: Nice to see you too. See you again.
เพลง Elephants / Chickens
Elephants, Why are they so big?
Chickens* Why are they so small?
Elephants, Why are they so big?
Chickens, Why are they so small?
Think. Do you know. Why?
Do you know. Why? Can you tell me?
 …………………………..
นักเรียนหาที่วางสําหรับตนเอง เพื่อสะดวกในการทํากิจกรรม
1. Elephants, Why are they so big? - นักเรียนทุกคนทํามือทั้งสองขางวาดโคงลงขางตัว
2. Chickens* Why are they so small? - นักเรียนทุกคนทํามือทั้งสองรวมประกบกัน
3. Elephants, Why are they so big? - นักเรียนทุกคนทํามือทั้งสองขางวาดโคงลงขางตัว
4. Chickens, Why are they so small? - นักเรียนทุกคนทํามือทั้งสองรวมประกบกัน
5. Think. - นิ้วชี้สองขางชี้ที่หัวตนเอง
6. Do you know, Why? - นิ้วชี้สองขางหมุนเปนวงกลมขาง ๆ ศีรษะ
7. Do you know, Why? - นิ้วชี้สองขางหมุนเปนวงกลมขาง ๆ ศีรษะ
8. Can you - ผายมือทั้งสองขางไปทางเพื่อน


9. Tell me? - หัวแมมือชี้อกตนเอง

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การจัดค่ายภาษาอังกฤษ ต่อจากบทความที่แล้วนะครับ

          การจัดการเรียนนการสอนภายในห้องเรียนคงอาจจะไม่เพียงพอต่อประสบการณ์ของนักเรียนของเรานะครับดังนั้นเพื่อให้เป็นการสร้างบรรยากาศใหม่พร้อมกับประสบการณ์ตรงกับชาวต่างชาติเราคงจะต้องเตรียมกิจกรรมให้กับเด็ก ๆ ของเราแล้วล่ะครับ เพราะจะให้นักเรียนของเราไปหาประสบการณ์ต่างประเทศก็คงยาก (ยากs, ขอเติม s นะครับลองออกเสียงดูนะครับ) ดังนั้นการจัดค่ายภาษาอังกฤษ (English Language Camp) จึงถือได้ว่าเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริงและในขณะเดียวกันก็เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นนอกห้องเรียนโดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในบรรยากาศที่สนุกสนาน เช่น การใช้เกม เพลง หรือ บทบาทสมมติ ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้สามารถจูงใจให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาโดยไม่รู้ตัว

         เรามาเริ่มกันเลยนะครับ ก่อนที่เราจะเริ่มการจัดค่ายนั้นสิ่งแรกเลยเราต้อง มีการตั้งวัตถุประสงค์กันก่อนนะครับ เพราะการกำหนดทิศทางและเป้ามหายในการจัดค่ายนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น จุดประสงค์ในการจัดค่ายอาจจะเป็นแบบนี้ก็ได้นะครับ (เผื่อว่าหลายท่านอาจจะตั้งวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากนี้ก็ได้นะครับ)
        วัตถุประสงค์ของการจัดค่าย
1. ได้รับประสบการณ์ตรงจากการสื่อสารกับเจ้าของภาษา มีการเรียนรู้จากการสังเกต สำรวจข้อมูล เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้จากสภาพจริง
2. ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่ท้าทาย สนุก น่าสนใจ แปลกใหม่ และตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ภาษา
3.  ส่งเสริมให้ได้พัฒนากระบวนการคิด ได้แก่ การคิดแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความสามารถในการตัดสินใจ
4.  ส่งเสริมให้พัฒนากระบวนการสืบเสาะความรู้ และกระบวนการทางภาษา ด้วยการทำกิจกรรมหลากหลาย อิสระ โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการและแนวความคิดหลักการทางการเรียนภาษา
5. ส่งเสริมให้พัฒนาทักษะการสื่อสาร มีปฎิสัมพันธ์ที่ดี และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข                                                                                        

6.  ส่งเสริมความเป็นผู้นำ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติต่อสังคม
เมื่อเรากำหนดวัตถุประสงค์แล้วนะครับ ขั้นตอนต่อไปเรามาเตรียมการจัดค่ายกันดีกว่านะครับ
สำหรับการเตรียมค่ายนะครับเราคงต้องมองให้ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดทิศทางกระบวนการและรายละเอียด ที่จำเป็นในการจัดค่ายนะครับ การเตรียมค่ายจะส่งผลให้เด็กเกิดความตื่นตัว เกิดความรู้สึกที่ดี ต้องการเข้าร่วม และช่วยให้เด็กเกิดคุณลักษณะตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ รวมทั้งมีส่วนในการป้องกัน ลดความเสี่ยง และรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการเตรียมค่ายสามารถ สรุปสั้นๆเป็นกลอนอย่างนี้ก็ได้นะ คิดให้ครบ กำหนดสาระ จัดหาวิธีการ ประสานงานให้ชัดเจน และเน้นกุศโลบายที่เหมาะสม
ในการเตรียมค่ายมีกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการหลายเรื่อง ผู้จัดการค่ายจะต้องจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง แล้วกำหนดปฏิทินการทำงานเพื่อกำหนดเวลาที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรม โดยวางแผนงานนี้อาจจะกระจายงาน หรือแบ่งงานให้ทีมงานตามความสามารถและความถนัดของบุคลากรหรือทีมงานที่จะช่วยเรานะครับ
        จากนั้นเราคงจะต้องมาวางแผนให้ต่อเนื่องกันเลยนะครับต่อไปคงจะต้องพูดถึงเรื่องของการพัฒนาหลักสูตรครับแต่หลายคนอาจจะเรียกว่าคู่มือประกอบการจัดค่ายก็ได้นะครับ แต่ก่อนอื่นเรามาดูขั้นตอนกันก่อนดีกว่านะครับว่าเราควรจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างครับ
          สิ่งแรกเลยเราคงต้องเริ่มจากการ"กำหนดเป้าหมายของการจัดค่าย"นะครับเราอาจจะต้องวิเคราะห์ว่า สิ่งที่เราจัดให้กับเด็กของเราว่าเกิดประโยชน์และเป็นไปได้จริงมั้ย เป็นแนวคิดใหม่ๆ ที่เด็กสนใจหรือเปล่าและที่สำคัญสอดคล้องเชื่อมโยงกับสถานการณ์และแนวโน้มสังคมระดับประเทศ ระดับโลกหรือไม่
                     ผู้จัดค่ายควรเลือกแนวคิดสำคัญที่จะใช้เป็นแกนการพัฒนาหลักสูตรค่าย เพื่อกำหนด Theme และทิศทางของค่ายนะครับ แนวคิดดังกล่าวจะนำไปสู่การกำหนดผลการเรียนรู้ กรอบเนื้อหาหลัก  กระบวนการเรียนรู้ และรายละเอียดกิจกรรมที่เหมาะสมกับเนื้อหานะครับ 
         

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ(ต่อ)

ต่อเนื่องจากบทความที่ผ่านมานะครับที่ทางผู้เขียนได้กล่าวถึงปัญหาพื้นฐานทั่วไปในการเรียนภาษาอังกฤษและการมีจิตวิญญาณของความเป็นครูนะครับ
      สำหรับการจัดการเรียนการสอนแล้วนะครับหากเรามองในอีกภาพนึงนะครับ ผมขอเปรียบภาพนี้เหมือนกับอาหารสักจานครับ เพราะหากเราปรุงอาหารให้มีรสชาติที่อร่อยถูกอกถูกใจลูกล้าหรือสมาชิกในบ้านแล้วล่ะก็แน่นอนครับลูกค้าย่อมมาที่ร้านบ่อย ๆ เป็นแน่เพราะติดใจในรสชาติของอาหารจานนั้น เช่นเดียวกันครับการที่เราจะสอนให้เกิดประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนคงต้องใช้เครื่องปรุงหลายอย่าง หรืออาจจะต้องพึ่งพาสูตรลับกันเลยทีเดียวนะครับ เช่น เราอาจจะใช้เกม 1 ช้อนโต๊ะ เพลง 2 ช้อนโต้ะ เนื้อหา 3 ถ้วยตวง กิจกรรมกลุ่ม 2 กรัม และการทดสอบสัก 1 ช้อนโต๊ะ ครับ......ว้าวน่าอร่อยจังนะครับ เพราะหากผู้สอนสามารถที่จะคิดและออกแบบกิจกรรมได้เป็นอย่างดีในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละครั้งให้ดีนั้น ผลลัพธ์ก็จะเท่ากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้นะครับ
      การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนั้นแน่นอนครับเราต้องมองย้อนกลับไปเมื่อสมัย 20 กว่าปีที่แล้วครับที่มีหนังสือเรียนภาษาอังกฤษที่มีชื่อว่า English is Fun ที่เราหลาย ๆคนเคยเรียนมาในสมัยอยู่ชั้นประถมศึกษากัน ในปัจขจุบันนี้ก็เช่นกันครับ การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษก็คงต้องเน้นให้มีความสนุกสนานไปพร้อม ๆ กัน เพราะผู้เรียนของเรานั้นผมเชื่อว่ามีความแตกต่างกันไม่น้อยเลยทีเดียวครับและถ้าหากเราใช้กิจกรรมในการจัดการเรียนการสอนก็จะทำให้นักเรียนหรือผู้เรียนนั้นรู้สึกผ่อนคลายและอยากเรียนภาษาอังกฤษกับผู้สอนเป็นแน่ ถ้าเราสังเกตนะครับ ผู้เรียนจะชอบครูภาษาอังกฤษที่ใจดีและมีกิจกรรมที่สนุกสนาน แต่ในความเป็นจริงแล้วครูภาษาอังกฤษใจดีอาจจะหายากนิดนึง(รึเปล่า) นะครับ แต่ในความเป็นจริงเราก็เข้าใจอาชีพเดียวกันนะครับเพราะว่าครูไม่ได้มีหน้าที่สอนอย่างเดียวนะครับ มีอีกหลายอย่างที่เราต้องทำ ยิ่งถ้าเป็นครูในระดับประถมศึกษาเราก็ต้องเห็นใจนะครับเพราะทำงานมากมายก่ายกอง คืออาจจะพูดได้ว่าทำได้ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบกันเลยทีเดียว
      ดังนั้นนะครับการที่เราจะหากิจกรรมที่เหมาะกับผู้เรียนหรือให้เกิดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรียนรู้ด้สยตนเองและเกิดการจดจำแบบคงทนยาวนาน การจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษก็อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่เราจำเป็นต้องให้เด็กที่น่ารักของเราได้รับประสบการณ์ที่ไม่เคยมีในห้องเรียน
       หลายคนอาจจะบอกว่าการจัดค่ายภาษาอังกฤษไม่เห็นจะได้ผลดีเท่าที่ควร และเป็นการจัดแบบสูญปล่าว งบประมาณค่อนข้างมากต้องละลายไปกับกิจกรรมนี้ แต่ผมมองอีกมุมหนึ่งว่า แน่นอนครับการจัดค่ายภาษาอังกฤษแค่ 2 วันนักเรียนคงไม่ได้เก่งหรือฉลาดขึ้นมาได้อย่างมากมายได้เป็นแน่ แต่สิ่งที่ผมเห็นก็คือเราทำเพื่อให้นักเรียนมีเจคติที่ดีหรือมีความคิดด้านบวกกับภาษาอังกฤษหรือกระตุ้นให้เขารู้สึกชอบในตัวภาษาอังกฤษนั่นเอง เราอาจจะต้องคิดว่า ไม่ง่ายนะที่เราจะเห็นเด็กของเรายิ้มหัวเราะ สนุกสนาน ในการเรียนภาษาอังกฤษ หากเราทำให้เขาชอบหรือมีความคิดด้านบวกกับภาษาอังกฤษแล้วล่ะก็ ผมคิดว่านั่นเป็นหมายสำคัญแก่เราชาวครูนะครับที่จะต้อง ติดตามผลและกระตุ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากการจัดค่าย หากเราสามารถจัดกิจกรรมย่อยหลังจากจัดค่ายแล้วนั้นเด็กของเราน่าจะได้อะไรอีกมากมายนะครับเพราะนักเรียนของเรากำลังมีไฟหรืออุ่นไอของบรรยากาศจากค่ายภาษาอังกฤษแล้วนั้น เราจัดสรรเนื้อหาอะไรให้ขเาคงรับได้ง่ายกว่าปกตินะครับ ดังนั้นเองนะครับเราต้องช่วยกันเติมไฟให้เขานะครับ อย่ารอให้ไฟที่เราช่วยกันจุดมาจากค่ายตั้ง 2-3 วันต้องดับมอดลงไปนะครับ แต่หลายที่ ๆ จัดอาจจะไม่ได้ดำเนินการติดตามผลต่อเนื่อง เลยทำให้ไฟในนักเรียนของเรานั้นดับมอดไปและรอที่จะรับการจุดอีกครั้งก็ต่อเมื่อปีการศึกษาหน้า
          จากที่ผู้เขียนได้กล่าวมาในเบื้องต้นนั้นนะครับเราชาวครูทั้งหลายอาจจะต้องจัดกิจกรรมที่เหมาะสมให้กับลูก ๆ ของเราที่โรงเรียนและอาจจะต้องเน้นคำว่า English is Fun กันแล้วล่ะครับเพราะเราคงต้องช่วยกันพัฒนาพื้นฐานของประเทศของเราด้วยการพัฒนาการศึกษาของเด็กของเราให้เข้มแข็ง เพื่ออย่างน้อยให้เขาสามารถที่จะใช้ความรู้ความสามารถของเขาไปใช้ประกอบอาชีพที่สุจริต ซื่อสัตย์ เป็นคนดีและเป็นประโยชน์ต่อสังคมในภายภาคหน้าเหมือนอย่างที่เราชาวครูอยากให้เขาเป็น และช่วยกันเตรียมลูก ๆ ของเราในโรงเรียนให้เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ Asean community โดยเริ่มจากตัวของเขาก่อนนะครับ และเราชาวครูต้องร่วมด้วยช่วยกันครับ
  สำหรับรายละเอียดสำหรับการจัดค่ายในส่วนอื่น ๆ นะครับ เดี๋ยวเรามาต่อกันในฉบับต่อไปนะครับ

ควมสำคัญของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

หลายคนคงคิดว่าการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในบ้านเรานั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากใช่มั้ยล่ะครับ แน่นอนครับหากเรามององค์ประกอบหลายๆอย่างที่อยู่รอบตัวเราหรือในบริบทอย่างประเทศของเรา 

1. ประเทศเราไม่ได้เป็นเมืองขึ้น (อันนี้ฟังจากนักศึกษาหลาย ๆ คนนะครับ)
2. สิ่งแวดล้อมไม่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน (ประมาณว่าไม่มีโอกาสได้ใช้เลย เรียนแล้วก็ถูกแช่อิ่มจ้า)
 3. ครูผู้สอนขาดเทคนิดการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
4. ครูผู้สอนจบไม่ตรงวุฒิ (เลยทำให้ขาดทักษะด้านวิชาการและเทคนิคการสอน)
                                                                   5. นักเรียนขาดแรงจูงใจในการเรียน (ขาด Sense of Purpose อย่างแรง)
           สิ่งที่กล่าวมานั้นนะครับอาจจะเป็นปัญหาที่เราหลายคนก็อาจจะคิดได้เหมือนกันเพราะดูเหมือนว่าเป็นปัญหาพื้นฐานเท่านั้นนะครับแต่ถ้าหากเรามองให้ลึกลงไปแล้วอาจจะเป็นปัญหาที่ใหญ่มากเลยทีเดียว เพราะการพัฒนาประเทศให้มีความรุดหน้านั้น การศึกษาถือว่าเป็นฐานรากหลัก เหมือนกันครับ เวลาสร้างบ้านเราคงต้องสร้างฐานรากที่มั่นคงและเข้มแข็ง ถ้าไม่อย่างนั้นหากเราต่อเติมหรือก่อสร้างสิ่งอื่นเพิ่มไปอีก แน่นอนละครับบ้านนั้นอาจจะพังทะลายไม่มีชิ้นดี ผมขอเปรียบผู้เรียนเหมือนกับการสร้างบ้านนะครับเพราะอาจจะทำให้เข้าใจมากขึ้นน่ะครับ แท้จริงแล้วหากบ้านนั้นจะเข้มแข็งคงทนและสามารถใช้การได้ คงต้องพึ่งองค์ประกอบหลายอย่าง ครับ ผู้เรียนก็เช่นกันการที่เขาเหล่านั้นจะเติบโตและสมบูรณ์แข็งแรงคงต้องการองค์ประกอบที่ดีและสมสัดส่วนประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมที่ดี ดังนั้น เราผู้สอนคงต้องกลับมาร่วมกันสร้างบ้าน(ผู้เรียน)ให้มั่นคงแข็งแรงและสามารถใช้การได้ร่วมกันนะครับ โดยมาเริ่มที่ตัวของเราเอง เราคงต้องมาปรับเปลี่ยนเทคนิคหรือกระบวนการสอนของเราให้เป็นที่น่าสนและดึงดูดความสนใจของผู้เรียน เช่น เราอาจจะเริ่มศึกษาหาความรู้จากหนังสือ ตำรา หรืองานวิจัยเพื่อยกระดับการสอนของเรา และที่สำคัญไม่ควรลืม การมีจิตวิญาณของความเป็นครูนะครับเพราะนี่จะเป็นสิ่งที่ช่วยกำหนดทิศทางการทำงานของเราให้มีประสิทธิภาพและทรงคุณค่าของความเป็นครู

***** เดี๋ยวเรามาแชร์กันใหม่นะครับ**********ตอนนี้ขอพอไว้เพียงเท่านี้ก่อนครับ***